
มกราคม 2561
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยและเป็นหน่วยงานประสานหลัก การบูรณาการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ชายฝั่งทะเลประเทศไทยความยาวกว่า 3,148 กิโลเมตร โดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีความยาวประมาณ 2,055 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามันมีความยาวประมาณ 1,093 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด จาก (ร่าง) รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2559 ดำเนินการสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ปัจจุบันมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่ประสบปัญหาถูกกัดเซาะจำนวนทั้งสิ้น 462 พื้นที่ คิดเป็นระยะทางแนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ 618.35 กิโลเมตร (ร้อยละ 19.62 ของระยะทางแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด) และชายฝั่งที่ไม่มีปัญหากัดเซาะ 2,532.78 กิโลเมตร เนื่องจากในอดีตการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ทำให้การแก้ปัญหาส่วนใหญ่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และการดำเนินการโดยประชาชนเจ้าของพื้นที่ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่งเองนั้น ขาดการคำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินโครงการต่อพื้นที่ข้างเคียง โดยคำนึงถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองเท่านั้น ขาดการศึกษาถึงหลักการของกระบวนการชายหาดและสมดุลของตะกอนอย่างแท้จริง ทำให้ในปัจจุบันมีหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเนื่องมาจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยเฉพาะในรูปแบบโครงสร้างแข็ง (Hard structure) โดยโครงสร้างเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบการสมดุลของตะกอน หรือการเปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำกระแสคลื่น อันส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ข้างเคียงได้
100 เล่ม
กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง
กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง
-
การบริหารจัดการ
18 มิ.ย. 2561