DMCR PUBLICATIONS

คู่มือหลักสูตรท้องถิ่นการอนุรักษ์พะยูนเเละหญ้าทะเล วิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

  • มีผู้สนใจ จำนวน 833 คน

เมษายน 2566

-

กระบวนการจัดทำหลักสูตร ใช้วิธีการศึกษาวิจัยควบคู่ไปกับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนชายฝั่งของจังหวัดตรังจำนวน 8 โรงเรียน เพื่อนำร่องเป็นพื้นที่ศึกษาและดำเนินกระบวนการ ได้แก่ โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ โรงเรียนบ้านเกาะลิบง โรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ โรงเรียนบ้านหาดยาว โรงเรียนบ้านมดตะนอย โรงเรียนบ้านพระม่วง โรงเรียนบ้านควนตุ้งกู และโรงเรียนบ้านน้ำราบรวมถึงเชิญวิทยากรศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค และคณะทำงาน ร่วมกันพัฒนาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล โดยบูรณาการนำเนื้อหาท้องถิ่นเกี่ยวกับพะยูนและหญ้าทะเลเข้าไปในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง 2560) เน้นการพัฒนาสมรรถนะ (อิงสมรรถนะ) ในสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ทำให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ต้นแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ หลักสูตรท้องถิ่นระดับชั้นเรียน ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระภูมิศาสตร์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

เล่ม

มูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา , กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , คณะวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

-

การมีส่วนร่วม (เช่น คู่มือ ภาคีเครือข่าย ขยะทะเล เครื่องมือประมง เป็นต้น)

11 ม.ค. 2567