DMCR ABOUT US

นโยบายและยุทธศาสตร์
นโยบายและยุทธศาสตร์ "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง"
 
ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ 1

อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อย่างยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาสตร์ 2

สร้างความตระหนัก จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3

มีองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง


เป้าประสงค์
  • เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

    ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

    ขยายและยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการ

  • เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

    มีองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง


กลยุทธ์
  • กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

    1. อนุรักษ์ ฟื้นฟู กำหนดเขตคุ้มครอง และป้องกัน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อรักษาสมดุลและ เป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

  • กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

    1. พัฒนากลไก เครื่องมือ และกระบวนการเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

    2. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและเอกชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

    3. เพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

  • กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

    1. สำรวจ ปรับปรุง พัฒนาฐานข้อมูล และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งอย่างบูรณาการ

    2. ศึกษา วิจัย สำรวจ ประเมิน และติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

    3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานภาพและศักยภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

    4. ปรับปรุง พัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ครอบคลุมทันสมัย พร้อมทั้งพัฒนาและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการ (MIS) และการตัดสินใจ (DSS) อย่างเป็นระบบ 

แผนปฏิบัติราชการประจำปี "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง"


สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงข้อมูล เมื่อเดือนมิถุนายน 2564
พื้นที่รับผิดชอบ
  • บนบก
    - ป่าชายเลน 2.86 ล้านไร่ (คงสภาพป่า 1.74 ล้านไร่)
    - ชายฝั่ง 17.48 ล้านไร๋ (572 ตำบล 125 อำเภอ 24 จังหวัด)
  • ในทะเล
    - แนวชายฝั่ง ถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษจำเพาะ 200 ล้านไร่
  • เกาะ/หาด
    - 936 เกาะ / 609 หาด
  • ป่าชายเลน
    - เนื้อที่ 2.86 ล้านไร๋ (คงสภาพป่า 1.74 ล้านไร่ และถูกบุกรุก/เปลี่ยนสภาพ 1.12 ล้านไร่)
  • แนวปะการัง
    เนื้อที่ 149,025 ไร่ (สมบูรณ์มาก 5.7% , สมบูรณ์ปานกลาง 15.9% , สมบูรณ์น้อย 78.4%)
  • หญ้าทะเล
    เนื้อที่ 159,829 ไร่ (สมบูรณ์ดีมาก 1% , สมบูรณ์ดี 26% , สมบูรณ์ปานกลาง 64% , สมบูรณ์น้อย 9%)
  • สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธ์
    - วาฬ , โลมา , พะยูน , เต่าทะเล รวมประมาณ 4,359 ตัว
    - ปี 2554 - 2563 เกยตื้น เฉลี่ย 177 - 436 ตัว/ปี
    - การรอดชีวิตจากเกยตื้น (เต่าทะเล 90% , โลมาและวาฬ 42% , พะยูน 65%)
  • แนวชายฝั่งทะเล ความยาวรวมโดยประมาณ 3,151 กิโลเมตร แบ่งเป็น
    1. ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาวประมาณ 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด (คิดเป็น 64.74%)
    2. ชายฝั่งอันดามัน มีความยาวประมาณ 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด (คิดเป็น 35.26%)
    3. พื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 91.69 กิโลเมตร (คิดเป็น 3%)
        ประกอบด้วย :
    กัดเซาะรุนแรง 12.87 กิโลเมตร, กัดเซาะปานกลาง 28.64 กิโลเมตร และกัดเซาะน้อย 50.18 กิโลเมตร 
    4. พื้นที่ที่ไม่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 2,356.76 กิโลเมตร (คิดเป็น 75%)

        ประกอบด้วย : พื้นที่สมดุล 1,612.27 กิโลเมตร, พื้นที่หัวหาด/หาดหิน 488.33 กิโลเมตร, พื้นที่ตะกอนสะสม 31.50 กิโลเมตร, พื้นที่ก่อสร้างรุกล้ำแนวชายฝั่ง 70.90 กิโลเมตร และพื้นที่ปากแม่น้ำ/ปากคลอง 153.76 กิโลเมตร
    5. พื้นที่ที่มีโครงสร้างแล้ว 702.58 กิโลเมตร (คิดเป็น 22%)