จากการศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก (Microplastics) ของกรม ทช. ร่วมกับสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในกระเพาะอาหารของปลาเศรษฐกิจ (ปลาหน้าดิน ๖ ชนิด ปลาผิวน้ำ ๑๑ ชนิด ปลาแนวปะการัง ๗ ชนิด) บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ พบปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อนบ้างแล้ว แต่ยังอยู่ในปริมาณน้อย ดังนี้
๑. ปลาหน้าดิน พบปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ย ๐.๙-๓ ชิ้นต่อตัว
- Alepes apercna ปลาหางแข็ง เฉลี่ย ๒ ชิ้นต่อตัว (พบมากสุด)
- Dasyatis zugei ปลากระเบน เฉลี่ย ๐.๓ ชิ้นต่อตัว
- Dendrophysa russellii ปลากะพงแดงข้างปาน เฉลี่ย ๐.๓ ชิ้นต่อตัว
- Leiognathus sp. กลุ่มปลาแป้น เฉลี่ย ๐.๙-๑.๓ ชิ้นต่อตัว
๒. ปลาผิวน้ำ พบปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ย ๐.๓-๔.๓ ชิ้นต่อตัว
- Scomberomorus commerson ปลาอินทรีย์ เฉลี่ย ๔.๓ ชิ้นต่อตัว
- Rastrelliger brachysoma ปลาทู เฉลี่ย ๑ ชิ้นต่อตัว
- Alepes sp. ปลาสีกุน เฉลี่ย ๑.๓-๑.๗ ชิ้นต่อตัว
- Anodontostoma chacunda ปลาโคก เฉลี่ย ๒ ชิ้นต่อตัว
- Johnius sp. ปลาจวด เฉลี่ย ๑-๓.๘ ชิ้นต่อตัว
- Opisthopterus tardoore ปลาอีปุดหัวเล็ก เฉลี่ย ๒ ชิ้นต่อตัว
- Sardinella sp. กลุ่มปลาหลังเขียว เฉลี่ย ๐.๓-๑.๓ ชิ้นต่อตัว
- Scomberomorus sp. กลุ่มปลาอินทรีย์ เฉลี่ย ๐.๖ ชิ้นต่อตัว
๓. ปลาแนวปะการัง พบปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ย ๐.๓-๒.๓ ชิ้นต่อตัว
- Sardinella albella ปลาหลังเขียว เฉลี่ย ๒.๓ ชิ้นต่อตัว
- Megalaspis cordyla ปลาแข้งไก่ เฉลี่ย ๑.๖ ชิ้นต่อตัว
- Scomberoides tol ปลาสละ เฉลี่ย ๒.๒ ชิ้นต่อตัว
- Terapon theraps กลุ่มปลาข้างตะเภา เฉลี่ย ๐.๘ ชิ้นต่อตัว
#รักษ์ทะเล #ทะเลและชายฝั่ง #สมบัติอันล้ำค่าร่วมรักษาให้ยั่งยืน #dmcrth #ไมโครพลาสติก