วันที่ 10 มีนาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 โดยส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่วนบริหารทั่วไป ,ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10 (ตะกั่วป่า พังงา)ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 11 (ลำ แก่น พังงา) และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ร่วมกันติดตามสถานการณ์หลุมฟักไข่เต่ามะเฟือง รังที่ 7 หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมฟักไข่ ตั้งแต่เวลา 13:24 น. เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด จนถึงเวลา 21:44 น. ลูกเต่ามะเฟืองได้ขึ้นสู่ปากหลุม จำนวน 1 ตัว จากนั้นจนถึงเวลา 23:30 น. ลูกเต่ามะเฟืองได้ทยอยขึ้นปากหลุมอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่เก็บลูกเต่าไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย และรอสักพักไม่มีลูกเต่าขึ้นมา จึงเปิดปากหลุม และขุดช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุมนำไปปล่อยลงสู่ทะเล จำนวน 78 ตัว ลูกเต่ามะเฟืองอ่อนแอรอการพักฟื้นในตู้ ICU Box จำนวน 3 ตัว ลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอด จำนวน 13 ตัว และไข่เต่ามะเฟืองไม่มีน้ำเชื้อ จำนวน 23 ฟอง คิดเป็นอัตราการฟัก 80% อัตราการรอดตาย 86% ซึ่งรังไข่เต่ามะเฟืองรังที่ 7 เป็นรังที่พบแม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 จำนวนไข่ 117 ฟอง นับเป็นวันที่ 52 วัน หลังจากที่พบแม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่