ผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาวิกฤตพะยูนและหญ้าทะเล ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
"ประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567"
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดย สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดภูเก็ต ปฏิบัติงานศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) พร้อมอาสาสมัครเครือข่ายจากต่างประเทศ วางแปลงเสริมอาหารให้กับพะยูน ในช่วงน้ำลงต่ำสุดในรอบวัน เวลา 14.00 – 16.00 น. พื้นที่ราไวย์ เป็นวันที่ 24 ในการวางแปลงเสริมอาหาร พบร่องรอยการกินแปลงเสริมอาหาร จากนั้นจึงได้ติดตั้งแปลงเสริมอาหาร ชนิดหญ้าช้องและหญ้าตะกานน้ำเค็ม ด้านซ้ายและขวาของสะพานราไวย์ ด้านละ 2 แปลง รวม 4 แปลง บริเวณอ่าวตังเข็น จ.ภูเก็ต ยกเลิกการติดตั้งชั่วคราว เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย คลื่นลมแรงและไม่พบพะยูนเข้ามากินในการทดลองวางแปลงเสริมอาหารที่จัดเตรียมตลอด 7 วัน ส่วนการสำรวจนั้น เจ้าหน้าที่มีแผนการบินสำรวจและประเมินสุขภาพประชากรพะยูน บริเวณโดยรอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ พื้นที่ราไวย์ บริเวณอ่าวตังเข็น อ่าวป่าคลอก และบริเวณสะพานสารสิน ไม่สามารถบินสำรวจได้ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีฝนตกหนัก คลื่นลมแรง น้ำขุ่น เจ้าหน้าที่จึงได้มีการปรับแผนการบินสำรวจเมื่อสภาพอากาศดีขึ้น จึงจะบินสำรวจต่อไป
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีการบูรณาการร่วมกับเทศบาลตำบลราไวย์ ดูแล เฝ้าระวังการกระทำหรือกิจกรรมใด ที่อาจส่งผลกระทบต่อพะยูน แหล่งหญ้าทะเล และพื้นที่ทดลองวางแปลงเสริมอาหาร เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมอาหารให้กับพะยูนในช่วงสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรม และหารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม จิตอาสาเก็บขยะบริเวณชายหาดหมู่ที่ 5 บ้านบางคณฑี ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 10 ธันวาคม 2567 เพื่อทำความสะอาดชายหาดและท้องทะเลให้สะอาดสวยงาม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล นอกจากนี้ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดกระบี่ นำเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 217 ออกปฏิบัติงานโครงการลาดตระเวนเฝ้าระวังและคุ้มครองพื้นที่แหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณเกาะลันตา จังหวัดกระบี่และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์มาตรการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ขอความร่วมมือจากชุมชนไม่ทำประมงในพื้นที่การแพร่กระจายของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล กรณีหากพบเห็นพะยูนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต สามารถแจ้งข่าวสารให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือโทรแจ้งสายด่วน หมายเลข 1362 เพื่อจะได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าช่วยเหลือ พร้อมนี้ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าดูแล ประชาสัมพันธ์ และเฝ้าระวังทุกวันต่อเนื่อง และสามารถติดตามสถานการณ์แก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดที่