DMCR FACEBOOK

กรมทะเล ติดตามสถานภาพหญ้าทะเลบริเวณเกาะกระดาด และศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวธรรมชาติ จังหวัดตราด

  • 16 มี.ค. 2568
  • 163
กรมทะเล ติดตามสถานภาพหญ้าทะเลบริเวณเกาะกระดาด และศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวธรรมชาติ จังหวัดตราด

วันที่ 10-16 มีนาคม 2568 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ติดตามสถานภาพหญ้าทะเลบริเวณเกาะกระดาด และศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวธรรมชาติ จังหวัดตราด ผลการดำเนินงาน ดังนี้
 
           1. เกาะกระดาด พบหญ้าทะเล 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) และหญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis ) การปกคลุมร้อยละ 5 ของพื้นที่ โดยหญ้าคาทะเลที่พบยังใบขาดสั้น พื้นทะเลเป็นทรายละเอียดปนเปลือกหอย ความลึก 1.5 - 2 เมตร คุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน ออกซิเจนละลายน้ำ 6.9 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 8.2 อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ได้เก็บดินตะกอนบริเวณเกาะกระดาด เพื่อนำมาหาปริมาณสารอินทรีย์ในดิน และขนาดอนุภาคของดินตะกอน
 
          2. อ่าวธรรมชาติ พบหญ้าทะเล 1 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล (E. acoroides) การปกคลุมร้อยละ 65 ของพื้นที่ หญ้าคาทะเลที่พบมีความสมบูรณ์ และมีความยาวของใบมากกว่า 1 เมตร แต่มีตะกอนปกคลุมบนใบหญ้าทะเลปริมาณมาก พื้นทะเลเป็นโคลนปนทรายปนเปลือกหอย ความลึก 1.1 - 2.8 เมตร คุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน ออกซิเจนละลายน้ำ 7.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 8.0 อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และได้เก็บตัวอย่างตะกอนดินเพื่อหาปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บในแหล่งหญ้าทะเล ปริมาณสารอินทรีย์ในดิน และขนาดอนุภาคของดินตะกอน โดยตัวอย่างทั้งหมดจะนำไปวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนในห้องปฏิบัติการต่อไป

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง