DMCR PUBLICATIONS

แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565)

  • มีผู้สนใจ จำนวน 1142 คน

พฤษภาคม 2563

-

พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเลไทยทั้งบริเวณฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปัจจุบันมีประชากรพะยูนในประเทศไทยประมาณ 250 ตัว โดยประมาณร้อยละ 70 พบในบริเวณทะเลจังหวัดตรัง ถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูนอยู่บริเวณใกล้ฝั่งที่มีแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้า ทาให้พะยูนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์สูง พะยูนมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่งเนื่องจากจานวนประชากรที่น้อยเพียงหลักร้อยตัว อีกทั้งยังมีการเสียชีวิตเฉลี่ยถึง 15 ตัวต่อปี โดยมีสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมประมง ในช่วงประมาณ 6 ปีที่ผ่านมามีความพยายามในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์พะยูนจังหวัดตรังโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนส่งผลให้เกิดแผนการอนุรักษ์พะยูนและถิ่นที่อยู่อาศัยของจังหวัดตรัง และผลจากการดาเนินการตามแผนทาให้พะยูนในจังหวัดตรังมีจานวนเพิ่มขึ้นจาก 125 ตัวในปี พ.ศ. 2556 เป็น 185 ตัว ในปี พ.ศ. 2562 ความสาเร็จของการทางานในพื้นที่จังหวัดตรัง เป็นต้นแบบการทางานเชิงอนุรักษ์พะยูนและถิ่นที่อยู่อาศัยจึงเป็นต้นแบบที่ดีในการนาไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของพะยูนในแหล่งอื่น ๆ ของประเทศไทย แนวคิดในการทาแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติจึงเป็นการนาความสาเร็จของการอนุรักษ์พะยูนที่จังหวัดตรัง มาขยายผลไปยังพื้นที่แหล่งที่มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนอื่น ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมเป็น 13 พื้นที่ โดยมีการกาหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้มีการศึกษาสารวจมาอย่างต่อเนื่อง และกาหนดแนวทางและกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ชาติ บันทึกความเข้าใจในการอนุรักษ์พะยูนระดับนานาชาติ แผนการอนุรักษ์พะยูนและถิ่นที่อยู่อาศัยในระดับจังหวัด รวมทั้งนาประสบการณ์และบทเรียนที่ได้มีการดาเนินการที่ผ่านมา แผนการอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติมีวัตถุประสงค์หลักคือ 1) เพื่ออนุรักษ์และคุ้มครองพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยในประเทศไทย 2) เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานศึกษาวิจัยพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย 3) เพื่อสร้างจิตสานึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย โดยมีเป้าหมายของแผนให้ประชากรพะยูนเพิ่มขึ้นจาก 250 ตัว เป็น 280 ตัว ในเวลา 3 ปี มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนที่สาคัญประกอบด้วย 1) การอนุรักษ์และลดภัยคุกคามพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย 2) การดาเนินการศึกษาวิจัยพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย 3) การช่วยชีวิตและดูแลรักษาพะยูนเกยตื้น และ 4) การส่งเสริมการสร้างจิตสานึกและการมีส่วนร่วม

เล่ม

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

การบริหารจัดการ