สิงหาคม 2564
-
ไมโครพลาสติก (Microplastic, MP) คือ เม็ดหรือเศษซิ้นส่วนของพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบนบก แหล่งน้ำธรรมชาติหรือทะเล ลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆ และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตผ่านทางห่วงโซ่อาหาร แม้ว่าพลาสติกจะเป็นวัสดุที่มีประโยชน์หลากหลายในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยความคงทนของพลาสติกที่ย่อยสลายยากในธรรมซาติ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวมากขึ้นทั่วโลก ในขณะที่ประเทศไทยยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อย ดังนั้นเพื่อหวิธีการจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ จึงได้รวบรวมและประมวลผลงานวิจัย เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการบริหารจัดการไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพต่อไป การดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นมีความเชื่อมโยงกับไมโครพลาสติก เริ่มจากเส้นใยเสื้อผ้าหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทำให้ขนาดเล็กลงเป็นไมโครพลาสติกและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารต่อไป โดยที่โครงสร้งทางเคมียังคงเดิม แต่ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลต่อความเป็นพิษของ ไมโครพลาสติกได้ แต่บางครั้งอาจกลายเป็นแหล่งพลังงาน (Carbon source) สำหรับสิ่งมีขีวิตได้ ซึ่งถือเป็นผลกระทบเชิงบวกด้านส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ซึ่งการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันตามกิจกรรมของมนุษย์ และขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและรูปร่างของไมโครพลาสติกด้วยการศึกษาวิเคราะห์ไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม จะต้องทำการแยกหรือดึงไมโครพลาสติกออกจากอนุภาคอื่น ๆ หรือมวลน้ำ โดยการกรองด้วยตะแกรงหรือกระดาษกรอง และอาศัยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของความหนาแน่น ซึ่งหากไม่สามารถแยกออกมาได้ต้องใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีที่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบหรือชนิดของไมโครพลาสติกได้ด้วยในการบริหารจัดการไมโครพลาสติก เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายสูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการกำจัดออกจากระบบนิเวศทางทะเลและขายฝั่ง เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้นำเสนอผลงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือแยกไมโครพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อม หรือศักยภาพของขบวนการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งมีขีวิตที่สามารถสะสมหรือดูดจับไมโครพลาสติกจากสภาพแวดล้อม ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำใช้เป็นแนวทางหรือทางเลือกในการกำจัดไมโครพลาสติกในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งต่อไป
1 เล่ม
ศุภวัตร กาญจนอติเรกลาภ
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝง
เอกสารวิชาการ
5 ส.ค. 2564