DMCR PUBLICATIONS

ความเป็นกรดของน้ำทะเลในน่านน้ำไทย

  • มีผู้สนใจ จำนวน 996 คน

สิงหาคม 2564

978-616-316-646-3

สภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเล เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล อันเนื่องมาจากการดูดชับก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดสภาพสภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น จากความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นนั้น ถึงแม้จะมีปริมาณน้อย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเฉพาะสัตว์ที่มีโครงสร้างเป็นส่วนประกอบของคาร์บอเนตหรือแคลเซียมคาร์บอเนต อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของระบบห่วงซ่อาหารในทะเล ในท้ายที่สุดก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิตทางการประมงซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยงข้องกับความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ความเป็นกรดของน้ำทะเลจึงถูกจัดเป็นประเด็นสำคัญในระดับโลก โดยเป็นประเด็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nation Sustainable Development Goals) และจากการคาดการณ์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) พบว่าแนวโน้มความเป็นกรดในน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โดยความเป็นกรดในน้ำทะเลที่เพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ปะการัง สัตว์จำพวกหอย และปลา ดังนั้น การศึกษาวิจัยสภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อปรากฎการณ์ ดังกล่าว รวมถึงการประเมินผลกระทบ แนวทางในการบรรเทผลกระทบ และทางเลือกในการปรับตัวให้สามารถ บรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใหมในเบื้องต้น

10 เล่ม

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด

การบริหารจัดการ

31 ส.ค. 2564