DMCR NEWS

กรมทะเล ร่วมพิธีลงนามความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ พิธีเปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิตฯ

  • 21 ก.ย. 2565
  • 326
กรมทะเล ร่วมพิธีลงนามความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ พิธีเปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิตฯ

          วันที่ 21 กันยายน 2565 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีลงนามความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ พิธีเปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต FTI : CC/RE/REC X Platform ( FTIX )"ลงมือทำ ลดโลกร้อน : ทางรอด ทางรุ่ง ของโลก ของไทย"Take Climate Action : Save The Earth, Prosper All พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ" ภาครัฐ ประสานภาคเอกชน ขับเคลื่อนไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน" โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมโภชน์ อาหุนัย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติในงาน ในงานมีการร่วมเสวนาโดย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรศการ (องค์การมหาชน) และ ดร.ธีระวัฒน์ ลิมปิบันเทิง ประธานกรรมการ บริษัท สยาม เด็นซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ในการนี้ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่ง พร้อมด้วยนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีฯ นางดาวรุ่ง ใจจริง ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม ชี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
          รัฐมนตรีฯ วราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 21 ของโลก หรือประมาณ 0.8% ของโลก และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด ทำให้ต้องปรับปรุง ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย โดยพิธีลงนามในวันนี้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจ และเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสนับสนุนตลาดคาร์บอนภายในประเทศ ซึ่งศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตจะเชื่อมโยงกับระบบขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ทำให้สามารถติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของประเทศได้อีกด้วย

 

 

  

   
ภาพ/ข่าว: ส่วนสื่อสารองค์กร

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง