แผ่นดินไหวและสึนามิในชิลีกับการเฝ้าระวังภัยพิบัติของไทย
(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 1 ก.พ.53)

เมื่อพูดถึงคำว่า “สึนามิ” เชื่อว่าไม่มีคนใดคนใดลืมเลือนเหตุการณ์วิปโยคที่เกิ ดขึ้นบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่คร่าชีวิตทั้งนักท่องเที่ยวและชาวไทยไปราว 5,000 คน นับแต่นั้นมาประเทศไทยจึงมีความตื่นตัวในการเฝ้าระวั งภัยพิบัติธรรมชาติโดยเฉพาะคลื่นสึนามิอย่างจริงจัง การเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในชิลีที่เริ่มตั้งแต่เช้ าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา จึงสร้างกระแสวิตกแก่นานาประเทศที่เกี่ยวข้องและเคยเ ผชิญกับความน่ากลัวของสึนามิมาแล้ว
ลำดับเหตุการณ์แผ่นดินไหว-สึนามิในชิลี
ระยะเวลาหลายปีมานี้โลกต้องประสบกับภัยพิบัติแผ่นดิน ไหวครั้งใหญ่ หลายครั้งที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้แก่
• 26 ธันวาคม 2547 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริคเตอร์ ในเอเชีย โดยมีศูนย์กลางที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่คร่าชีวิตคนไปราว 2 แสน 5 หมื่นคน และทำให้เกิดสึนามิในประเทศไทย
• 12 มกราคม 2553 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริคเตอร์ ที่เฮติ คร่าชีวิตผู้คนราว 2 แสนราย
• 27 กุมภาพันธ์ 2553 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริคเตอร์ที่ประเทศชิลี มีหลายประเทศประกาศเตือนภัยสึนามิ และกำลังได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ แถบเอเชียแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงรัสเซีย โดยมีการขยายคำเตือนไปถึงแถบอเมริกากลาง เกาะฮาวาย และเฟรนช์ โปลินีเซีย
คำยืนยันจากประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
เมื่อปรากฏคำว่า สึนามิ ขึ้นในข่าวย่อมไม่แปลกที่คนไทยหลายๆคนจะผวาขึ้นมาเนื ่องจากประเทศไทยเคยประสบกับความเสียใจอย่างรุนแรงต่อ เนื่อง ทั้งในด้านจิตใจและทรัพย์สินมาแล้ว อย่างไรก็ตาม นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่าจากการติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว 8.8 ริกเตอร์ ที่ชิลี ยืนยันได้ว่า คลื่นยักษ์สึนามิจะไม่ลามมาถึงประเทศไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากห่างไกลกันมาก เพราะต้องผ่านญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ก่อนจึงจะถึงไทยได้ นอกจากนี้นายสมิทธกล่าวอีกว่าขอให้คนไทยสบายใจ ไม่ต้องตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะคลื่นได้อ่อนตัวลงแล้ว ซึ่งการเคลื่อนตัวของคลื่นนั้นต้องใช้ระยะเวลาหลายชั ่วโมงโดยระยะเวลาการเคลื่อนตัวของคลื่นจากฮาวาย ไป ญี่ปุ่น ต้องใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง
ความช่วยเหลือคนไทยในชิลี
ความเป็นห่วงคนไทยที่อาศัยอยู่ในชิลีเป็นอีกความกังว ลสำหรับญาติพี่น้องที่ อยู่ในประเทศไทยเช่นกัน ในประเด็นนี้นายธานี ทองภักดี รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สถานทูตไทยประจำชิลี สามารถติดต่อคนไทยได้บางส่วนแล้ว โดยทุกคนที่ติดต่อได้ปลอดภัยดี โดยคนไทยในชิลีจำนวน 60 คนยังไม่มีใครแจ้งความประสงค์ขอกลับประเทศไทย
การเฝ้าระวังสึนามิของไทย
หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มเมื่อปี 2547 ประเทศไทยมีความตื่นตัวด้านการเฝ้าระวังและเตือนภัยพ ิบัติธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยสึนามิเป็นอย่างมาก โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยภิบัติแห่ งชาติ และมีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิอย่า งจริงจัง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภัยสึนามิ โดยอาศัยระบบการสื่อสาร เช่น ข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ การโทรแจ้งเตือน การตรวจระดับน้ำทะเลโดยกองทัพเรือ การประสานสถานีโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเตรียมออกอากาศเ ตือน การประสานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการจัดเตรียมระบบหอเตือนภัย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห ่งชาติ ซึ่งมีนายสมิทธิ ธรรมสโรช ผู้เชี่ยวชาญด้านสึนามิเป็นประธานอีกด้วย
ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติธรรมชาติของไทยในขณะน ี้มีไว้เพื่อความอุ่นใจ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในเรื่องความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาในอ ดีต แต่การพิสูจน์ว่าระบบดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพมากน้อย เพียงใด คงต้องรอเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจริง ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นเมื่อไร แต่ที่สามารถแน่ใจได้อย่างที่สุดก็คือความเป็นน้ำหนึ ่งอันเดียวกันและความมีน้ำใจของพี่น้องชาวไทยยามเกิด เหตุการณ์น่าสลด ที่พร้อมจะช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกอย่างไม่เลือกว่าเป ็นชนชาติใด หรือฝ่ายใด ดังที่ได้ปรากฏมาแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มเมื่อปี 2547