DMCR NEWS

ไทยลงนามพิธีสารนาโงยาชิงความหลากหลายทางชีวภาพ

  • 2 มิ.ย. 2557
  • 1,145

ไทยลงนามพิธีสารนาโงยา หวังชิงผลประโยชน์อันพึงได้รับจากความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวหน้า 21-02-55

นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ลงนามพิธีสารนาโงยา เรื่องการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมแล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม2555 ที่ผ่านมา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ว่าจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้น จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมให้เป็นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรซึ่งพิธีสารฉบับ นี้ นอกจากจะครอบคลุมการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมหรือทรัพยากรชีวภาพไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตที่โดยทั่วไปจะมีการเข้าถึงเพื่อนำไปใช้ใน กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร ยา หรือเครื่องสำอาง แล้วยังครอบคลุมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ในการนำทรัพยากรชีวภาพ นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

สำหรับพิธีสารนาโงยาฯมีซื่อเต็มว่า"พิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากร พันธุกรรมแล ะการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่าง เท่าเทียมและยุติธรรม"เป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพได้รับการรับรองจากภาคีอนุสัญญาฯในการประชุมสมัชชาภา คีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 10 เมื่อเดือนตุลาคม 2553 พิธีสารนาโงยาฯ ได้รับการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าประเทศมีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากร ธรรมชาติที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของตน ดังนั้น การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมในประเทศไดจึงต้องได้รับ อนุญาตตามกฎหมายภายในประเทศนั้นๆและเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จะต้องมีการเจรจาต่อรองเพื่อทำข้อตกลงในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก การใช้ร่วมกัน โดยผลประโยชน์ที่แบ่งปันเป็นได้ทั้งผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินเช่นค่า ธรรมเนียม ค่าสิทธิ เงินทุนการวิจัย และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่นการทำวิจัยร่วม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเป็นเจ้าของร่วมในสิทธิบัตรโดยในขั้นตอนจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอ อนุมัติจากสภาฯเพื่อลงสัตยาบันเข้าเป็นภาคีพิธีสารต่อไป

นายสุพัฒน์ ยังได้กล่าวว่าสผ.ได้จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมในระยะ 5ปี เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศดำเนินไป อย่างต่อเนื่องและมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วและอยู่ ระหว่างดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง