พลิกปูม 12ปี กระเช้าลอยฟ้า "ภูกระดึง" ก.ทรัพย์ดึง"ยิ่งลักษณ์" ขึ้น "ฮ." บินสำรวจ ปลุกผีโครงการ
มติชน 21-02-55
ในเวลา 14.10 น.วันที่ 21 กุมภาพันธ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ขึ้นเฮลิคอปเตอร์เดินทางจากท่าอากาศยานจังหวัดเลยไปสนามจอดเฮลิคอปเตอร์ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เพื่อบินสำรวจดูความเป็นไปได้ในโครงการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงและ เตรียมรับฟังแนวคิดนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายปรีชาพยายามผลักดันโครงการงกระเช้าขึ้นภูกระดึงตั้งแต่วันแรกเข้ารับ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อเดือน สิงหาคมปีที่ผ่านมาโดยให้สัมภาษณ์ว่า คนในจังหวัดเลยมีความต้องการกระเช้าขึ้นภูกระดึงแต่มีคนคัดค้านเช่นกัน จึงต้องทำประชาพิจารณ์หาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง
ต่อมา นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯแสดงความสนับสนุนโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้น ภูกระดึงระบุว่ามีการศึกษาไว้นานแล้ว มีแนวทางก่อสร้างไว้ 2-3ทางเลือก ผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ(EnvironmentalImpact Assessment)เรียบร้อยแล้ว
นายดำรงค์ระบุ กระเช้าลอยฟ้าภูกระดึงนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เพราะวันนี้ปัญหาคนเจ็บป่วยบนภูกระดึงสัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างกระทืบทำร้ายคน อาจจะถึงชีวิตได้ หากนำตัวลงมารับการรักษาช้ารวมไปถึงปัญหาการจัดการขยะทั้งหลายเป็นเรื่อง ใหญ่ทั้งนั้นที่สำคัญให้ไปถามเลยว่าคนที่มาประกอบอาชีพเป็นลูกหาบเมื่อแก่ ตัวไปเป็นโรคกระดูกพรุนทั้งหมู่บ้าน บั้นปลายก็ต้องหาเงินมารักษาตัวเองเพราะการแบกหามสัมภาระขึ้นลงภูกระดึงมา ตลอดชีวิต
สำหรับที่มาโครงการ"กระเช้าภูกระดึง"เริ่มคิดมาตั้งแต่ปี 2543 กรมอุทยานฯสมัยยังเป็นหน่วยงานที่ใช้ชื่อว่า "กรมป่าไม้"อยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ศึกษาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการกระเช้าลอยฟ้าภูกระดึง โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อกำหนดรูปแบบและวิธีการจัดการด้านนันทนาการการท่อง เที่ยวแบบยั่งยืน เป็นต้นร่างในการพิจารณาในแง่วิชาการต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม
"ทีม คอนซัลติ้งฯ"สรุปผลศึกษาว่าระบบนิเวศบนยอดภูกระดึง ปัจจุบันเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยการก่อสร้างกระเช้า ลอยฟ้าอาจไม่มีปัญหาในการก่อสร้าง กระเช้า แต่จะมีปัญหาในการจัดการการท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงอาจมีความจำเป็นที่ต้อง สร้างถนนหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆเพื่อนำนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่อง เที่ยวแต่ละจุดเพื่อให้สามารถท่องเที่ยวได้ภายในวันเดียว เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวทุกวัยทุกสถานะขึ้นไปท่องเที่ยวได้โดยสะดวก
ผลการศึกษาด้านเทคนิคการก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าพื้นที่สถานีต้นทาง-ปลายทาง 650 เมตร และ 400 ตร.ม. สถานีต้นทางอยู่ด้านล่างภูกระดึงประกอบด้วยอาคารสำหรับขึ้น-ลงกระเช้า ลานจอดกระเช้าและห้องเครื่องยนต์ขับเคลื่อนซึ่งอยู่ใต้อาคารขึ้น-ลง ระยะเวลาก่อสร้าง 14 เดือน อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างลำเลียงมาทางเฮลิคอปเตอร์ เท่านั้นมีการเก็บกองวัสดุที่สถานีต้นทาง-ปลายทาง โดยใช้พื้นที่ 650 ม.และ 450 ตร.ม. เสากระเช้าประกอบเบื้องต้นจากโรงงาน จำนวน 2ท่อน / 1 เสา แล้วมาประกอบที่บริเวณเก็บกองวัสดุที่สถานีต้นทางแล้วยกไปติดตั้งบนฐานราก แต่ละจุดโดยเฮลิคอปเตอร์
การบำรุงรักษาเสา โครงสร้างจำนวน 16 ต้น จะทำเส้นทางเดินเท้ากว้างไม่เกิน 1 ม. ใช้แรงงานคนดูแล ลักษณะเสาเป็นทรงกระบอกส่วนใหญ่จะถูกบังโดยเรือนยอดไม้ความสูงของเสา 64 ม. มีส่วนที่โผล่พ้นยอดไม้ 6 ม. เสาห่างกัน 240 ม. รูปแบบกระเช้าเป็นแบบเก๋ง 8คนนั่ง ใช้สายเคเบิลแบบวนเวียน ความเร็วในการเดินทาง 6 ม./วินาที รวมเวลาเดินทาง 10 นาที
ส่วนแนวทางเลือกของกระเช้า ตามรายงานเลือกไว้ 2 จุด ดังนี้
แนวทางเลือกที่ 1
บ้านศรีฐาน-หลังแป อยู่ทางทิศใต้ของทางขึ้น-ลงปัจจุบันห่างจากเส้นทางเดิม 1 ก.ม.มีระยะความยาวของเคเบิลกว่า 3,819 ม. ผ่านป่าดิบแล้งป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา ซึ่งผลการสำรวจพบไม่มีไม้หายากถ้ามีการตัดฟันไม้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้รวม 3.41 ไร่ หรือ 5,450ตร.ม. เป็นไม้ใหญ่ 117.19 ต้น กล้าไม้ และลูกไม้รวมมูลค่ากว่า 1.9 หมื่นบาท
แนวทางเลือกที่ 2
บ้านไร่ใต้-คอกเมย อยู่ด้านตะวันตกใกล้กับบ้านไร่ใต้ ซึ่งจะเป็นเขต อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ระยะความยาวเคเบิล 4,299 ม. ผ่านป่าเบญจพรรณทั้งหมดยกเว้นด้านบนภูเป็นทุ่งหญ้าจากสถานีคอกเมยไปศูนย์ บริการนักท่องเที่ยววังกวางต้องผ่านป่าดิบเขาที่เป็นป่าปิด4 ก.ม. และตัดผ่านทุ่งหญ้าและป่าสนเขากลางภูอีก 9 ก.ม.หากใช้เส้นทางนี้จะกระทบต่อป่าปิดและทั้ง 2 จุดเป็นแหล่งอาศัยและด่านสัตว์ป่า
ผลการศึกษาของ "ทีม คอนซัลติ้ง"บรรยายสภาพภูกระดึงเมื่อ 12 ปีที่แล้วว่า เป็นอุทยานฯ ที่มีความสำคัญ ประกอบด้วยป่า 6 ชนิด คือ ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบและทุ่งหญ้าเขตร้อนสภาพป่าจะผันแปรตามระดับความสูงขอ งภูมิประเทศ ตั้งแต่ 200-1,300เมตร พบพืชที่มีเฉพาะในประเทศไทยและในอุทยานฯภูกระดึงเพียงแห่งเดียว 11 ชนิด เช่น หญ้านายเต็ม (Isachnesmittinandiana A.Camus) หญ้า Eriocaulon siamcuse Mold. เอื้องแซะภู (Dendrobium mangaritaceum A.Finet) พื้นที่ร้อยละ99.47 ของอุทยานฯ เป็นป่าไม้
สัตว์ป่าทั้งหมด 438 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสัตว์ป่าสงวน 1ชนิด คือ เลียงผา สัตว์ป่าคุ้มครอง 29 ชนิดได้แก่ ลิ่นชวา ค่างแว่นถิ่นเหนือ สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 3 ชนิดได้แก่ เสือโคร่ง ช้าง หมาใน สัตว์ป่าที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 3ชนิดได้แก่ หมีควาย เสือไฟ และเม่นใหญ่สัตว์ป่าที่มีสภาวะใกล้ถูกคุกคาม 3 ชนิดได้แก่ นากใหญ่ภูเขาชะนีมือขาว ลิ่นชวา
นกมีสัตว์ป่าสงวน 1 ชนิด คือ นกกระเรียน และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 181ชนิด สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 1 ชนิดคือ นกกระทาดงแข้งเขียว สัตว์เลื้อยคลาน มีสัตว์ป่าคุ้มครอง 7 ชนิด ได้แก่ เต่าเหลือง เต่าเดือย สัตว์ป่าที่มีสภาวะใกล้ถูกคุกคาม 1ชนิด คือ แย้อีสาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีสัตว์ป่าที่ถูกคุกคาม 1ชนิด ได้แก่ กบห้วยขาปุ่ม
ปลา เป็นสัตว์น้ำที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์ 2 ชนิด คือ ปลาดุกด้านและปลาสร้อยน้ำผึ้ง แมลงป่าไม้ สัตว์ป่าคุ้มครอง 1 ชนิด คือผีเสื้อถุงทองป่าสูง
ตามแผนถ้านักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัส "ภูกระดึง"ด้วยกระเช้าปีละ 7 หมื่นคนหนุ่มสาวแข็งแรงที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดด้วยการปีนป่าย ขึ้นภูกระดึงอีกราวๆ 1 แสนคน รวมๆแล้วประมาณ 170,000 คน