ญี่ปุ่นหลังสึนามิยังต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์
โต๊ะต่างประเทศ รายงาน
คม ชัด ลึก 12-09-5
วิกฤติ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ หนึ่งในความเสียหายที่ยังไม่อาจประเมินได้จากแผ่นดิน ไหวระดับ 9 และสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคมนั้นทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกไม่ไว้ใจพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไปและแสดงออกผ่านการเดินขบวนประท้วง ตามท้องถนนเป็นระยะกับการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนถึงอนาคตพลังงานนิวเคลียร์
ผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าชาวญี่ปุ่นเกินครึ่งต้องการลดจำนวนเตาปฏิกรณ์ ใน ประเทศลง และ 6 ใน 10 ไม่มั่นใจความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือมั่นใจน้อยมาก มีแค่ 5% ที่บอกว่ามั่นใจ และ 3% ต้องการให้เลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์สิ้นเชิง
แต่กระแสต่อต้านนิวเคลียร์ที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่หยุดอยู่แค่ความคิด
6 เดือนที่ผ่านมาขณะที่วิกฤติฟูกูชิมะเป็นตัวกระตุ้นให้เยอรมนีเร่งแผ นปิดเตาปฏิกรณ์ แต่ญี่ปุ่นไม่เคยส่งสัญญาณว่าจะเดินไปในทางนั้น
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการทำ "สเตรสส์ เทสต์"หรือการทดสอบรับมือในภาวะวิกฤติจากแผ่นดินไหวและสึนา มิอันเป็นก้าวแรกสู่การเปิดเดินเครื่องอีกครั้งหลังปิดตรวจสอบความปลอดภัย นับจากภัยพิบัติ
"ผมอยากได้ชีวิตที่ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใกล้บ้านมากกว่า แต่ทำอย่างไรได้ เราต้องการมัน" เสียงสะท้อนจากนายทาคาชิ ยามาดะ วัย 66ปีที่เมืองมัตสึยามะ เกาะชิโกกุหนึ่งในชุมชนใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อิคาตะที่ต้องการงานและการอุด หนุนทางการเงินที่หลั่งไหลมาพ ร้อมกับโรงไฟฟ้า เช่นเดียวกับเมืองที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อื่นๆ
ฮิโรชิ ไคนูมะนักสังคมวิทยาที่วิจัยเรื่องฟูกูชิมะ กล่าวว่า ชาวบ้านที่ถูกเรียกว่า"ชาวบ้านนิวเคลียร์" หวาดวิตกชีวิตที่ปราศจากโรงไฟฟ้าอย่างมากพวกเขาเติบโตมาเพื่อสนับสนุน พลังงานนิวเคลียร์ เกือบจะเป็นจิตใต้สำนึกเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายในญี่ปุ่นยอมรับว่า การซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอย่างที่เยอรมนีซื้อได้จากฝรั่งเศส ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับประเทศเกาะอย่างญี่ปุ่นส่วนพลังงานทางเลือกมีราคาแพง มาก อีกทั้งคงต้องใช้เวลาอีกนานในการพัฒนา นอกจากนี้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาติอย่า งหนึ่งและสร้างรายได้มหาศาลจากการส่งออก
ยิ่งไปกว่านั้นชาวญี่ปุ่นไม่เคยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า "ไม่ต้องการ"พลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไป และการออกมาคัดค้านท้าทายรัฐบาลก็ไม่ใช่ลักษณะของสังคมญี่ปุ่น คนจำนวนไม่น้อยยังลังเลจะออกไปร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์ที่บ่อยครั้ง ถูกมองว่าเป็นพวกประหลาด
เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลให้ผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ปฏิเสธอุตสาหกรรมที่ได้ช่วยเกื้อกูลความเจริญรุ่งเรืองของชาติมานานหลาย ทศวรรษ เพราะเหมือนสังคมในวงกว้างจะยอมให้ชายฝั่งของประเทศเป็นที่ตั้งของเตา ปฏิกรณ์ 54 แห่งต่อไป
ปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าจากการปิดเตาปฏิกรณ์ชั่วคราวอากาศร้อนผิดปกติ การปรับตัวและวางแผนการผลิตอย่างยากลำบากของภาคการผลิตรถยนต์และวิถีชีวิต ของผู้คนที่จำต้องเปลี่ยนตามสภาพยังช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้สนับสนุนในรัฐบาล มีเหตุผลดีๆไปโต้กับอีกฝ่ายได้ว่าญี่ปุ่นไม่สามารถปิดเตาปฏิกรณ์ได้ในอนาคต อันใกล้
นายโยชิโร โฮริ กรรมการผู้จัดการโกลบิส คอร์ป กล่าวว่า "ความตื่นตระหนกเริ่มซาลงแล้ว" และคาดการณ์ว่าเตาปฏิกรณ์ทั้งหมดจะกลับมาให้บริการตามปกติในที่สุด ยกเว้นที่ฟูกูชิมะกับที่ฮามาโอกะ โรงไฟฟ้าทางภาคกลาง เพราะมีความเป็นไปได้สูงถึง 90% ที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ใน 30 ปีข้างหน้า
6 เดือนผ่านไปเสียงตอบรับพลังงานนิวเคลียร์กำลังฟื้นกลับ และอีกไม่นานกระแสต้านนิวเคลียร์อาจกลายเป็นเรื่องต้องห้าม