แฉแผนที่เขมรฮุบ "เกาะกูด" อดีตกำนันยันสมบัติไทย 100%
แนวหน้า 05-09-54
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า จากปัญหาความสับสนว่า อ.เกาะกูด จ.ตราด เป็นของประเทศใด ล่าสุดได้พบแผนที่ของสำนักงานตำรวจน้ำเกาะกง จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ระบุว่า เกาะกูดเป็นของประเทศกัมพูชา ประมาณ 1 ใน 3 ของ อ.เกาะกง กล่าวคือ มีการขีดเส้นอาณาเขตทางบกและทางทะเลโดยยึดหลักเขตที่ 73 บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ลากเส้นไปยังละติจูด 101 ลิปดา 20 ลิปดา เหนือ ลองจิจูด 11 ลิปดา 32 ลิปดา ตะวันออก และลากยาวผ่านไปยังภูเขาที่สูงที่สุดของ อ.เกาะกูด และยังลากไปยังเส้น ลองจิจูด 101 ลิปดา 13 ลิปดา เหนือ และ ละติจูด 10 ลิปดา 59 ลิปดา ตะวันออก และลากไปชนกับเส้นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 120 ไมล์ทะเล ที่มากกว่า 150,000 ตารางกิโลเมตร โดยกัมพูชาระบุว่าเส้นนี้เป็นที่ยึดตามข้อตกลงในปี 1972 หรือ 2515 ทั้งนี้แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้เป็นพื้นที่อาณาเขตมาตลอดระยะ เวลา 30 ปี
นายประเสริฐ ศิริ อดีตกำนันตำบลหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า การขีดเส้นแดนของกัมพูชาที่ปรากฏในแผนที่ของส่วนราชก ารกัมพูชา หรือใน จ.เกาะกง เป็นการขีดขึ้นเองแต่ฝ่ายเดียว เพราะหลักเขตที่ 73 ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหาดเล็ก เป็นจุดเล็งของพื้นที่อาณาเขตของ 2 ประเทศ แต่การเล็งจะต้องมีหลักเขตที่ 72 เป็นหลักอ้างอิงด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าหลักเขตที่ 72 อยู่บริเวณไหน ตนเองยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทย 100% ทุกวันนี้ อ.เกาะกูด มีชาวตราดอาศัยอยู่ ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่มานานและไม่เคยมีใครเห็นหลักเ ขตที่ 74 ในเกาะกูดด้วย
ทั้งนี้เอกสารจากกระทรวงต่างประเทศระบุว่า "เกาะกูด (และทรัพยากรในอ่าวไทย) คือ สมบัติของชาติไทยที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อ 2 ของสนธิสัญญาระหว่างสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิกฝรั่งเส ศ 23 มีนาคม ร.ศ.125 พ.ศ.2449/50 (ค.ศ.1907) กล่าวคือ
"รัฐบาลฝรั่งเสศยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย แลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุ งสยามตามกำหนดเขตรแดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตรแดนดังกล่าวมาแล้ว" กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่เกาะกูด
นอกจากนี้เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่า ดินแดนดังกล่าวเป็นของประเทศไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาข องไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ.125 (ค.ศ.1907) โดยระบุข้อความว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสยอม ยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหล าย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม" เช่นเดียวกับในสนธิสัญญาฯ ดังนั้นจึงมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า "เกาะกูด" เป็นสมบัติของไทยอย่างแน่นอน